เมื่อโดนสุนัขกัดต้องรักษาและดูแลอย่างไร

30422

การปฐมพยาบาลเมื่อโดน สุนัข กัด

  • วันนี้ Petcitiz ก็มีบทความดีๆ เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูก สุนัข กัด รวมถึงการดูแลรักษาบาดแผลอย่างถูกวิธีมาฝากค่ะ

มีประชากรจำนวน 2-5 ล้านคนต่อปี ที่ถูกสัตว์ต่างๆ ทำร้ายร่างกาย แต่เชื่อหรือไม่ว่าผู้ที่ถูก สุนัข กัดนั้นมีถึง 85-90% และเด็กมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้ใหญ่ สำหรับผู้ที่ถูกกัดอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อในบาดแผลรุนแรง ถึงขั้นทำให้อวัยวะส่วนดังกล่าวพิการได้ และที่น่าเป็นห่วงที่สุดก็คือ โรคพิษสุนัขบ้า เพราะอันตรายถึงแก่ชีวิต ดังนั้น เพื่อป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น เราจะพาเพื่อนๆ ไปเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมไปถึงการดูแลรักษาบาดแผลด้วยกันค่ะ

สุนัข กัด ปฐมพยาบาล

สุนัข กัด ปฐมพยาบาล

วิธีรักษาแผลกัดที่ไม่รุนแรง

1.ตรวจดูแผล และรอยกัด

แผลที่เกิดจากสุนัขกัดส่วนใหญ่จะไม่มีอาการรุนแรงมากนัก ถ้าแผลไม่ฉีกขาดออกจากกัน หรือเขี้ยวของสุนัขถากแค่ผิวเผิน คุณสามารถรักษาแผลเช่นนี้เองได้ที่บ้าน แต่หากเป็นแผลที่เกิดจากเขี้ยวฝังลึกลงไป ฉีกขาด ข้อต่อ หรือกระดูกถูกบดหัก กรณีนี้ให้รีบพบแพทย์ทันทีนะคะ

**(การดูแลแผลรุนแรงเบื้องต้นอยู่ในส่วนที่สองของบทความด้านล่างค่ะ)

 

2.ล้างแผล

เมื่อถูกสุนัขกัด ให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดผสมกับสบู่ การใช้น้ำสบู่จะช่วยทำความสะอาด และขจัดเชื้อโรคที่อยู่รอบแผล หรือเศษฝุ่นที่ติดมากับปากสุนัขได้

สุนัข กัด ปฐมพยาบาล

3.ห้ามเลือด

หลังจากล้างแผลเสร็จแล้ว ถ้ามีเลือดไหล ห้ามเลือดโดยการใช้ผ้าขนหนูสะอาด หรือผ้าก๊อซกดแผลไว้ เพื่อให้เลือดหยุดไหล หรือไหลช้าลง แต่ถ้ากดแผลผ่านไป 15 นาที เลือดยังไม่หยุดไหล แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

 

4.ทายา หรือครีมฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

ทาครีมฆ่าเชื้อ Neosporin หรือ Bacitracin สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อของแผลสด และลดอาการอักเสบได้ สำหรับวิธีใช้ก็ทายาตามขั้นตอนตามที่ระบุไว้ข้างบรรจุภัณฑ์

สุนัข กัด ปฐมพยาบาล

5.พันแผล

ทายาฆ่าเชื้อแล้ว ต้องพันให้แน่นพอประมาณเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ แต่ไม่ควรพันแน่เกินไปเพราะจะมีผลกับการไหลเวียนของเลือด ควรเปลี่ยนผ้าพันแผลทุกครั้งเมื่อเห็นว่าผ้าเริ่มสกปรก เช่น หลังจากอาบน้ำเสร็จ ค่อยๆ ล้างแผล และทายาอีกครั้ง แล้วเปลี่ยนใช้ผ้าพันแผลใหม่

สุนัข กัด ปฐมพยาบาล

6.เช็กประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก

โรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อที่อยู่ในฝุ่น หรือดินเข้าสู่บาดแผล ซึ่งการถูกสุนัขกัดก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคดังกล่าวได้เช่นกัน ถ้าการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักครั้งสุดท้ายของคุณนานกว่า 5 ปี คุณหมอมักแนะนำให้ฉีดซ้ำอีกครั้งหลังจากถูกสุนัขกัดด้วยค่ะ

 

7.หมั่นเช็กแผล

การเช็กอาการแผล คือ การเฝ้าระวังอาการติดเชื้อ หากเพื่อนๆ คิดว่าแผลนั้นติดเชื้อ ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเลยนะคะ ส่วนสัญญาณที่บ่งบอกว่าแผลติดเชื้อ ได้แก่

  • มีไข้
  • มีการเจ็บปวดกว่าเดิม
  • มีน้ำหนองไหลออกมาจากแผล
  • บวมแดงหรือบริเวณแผลค่อนข้างอุ่น

 

8.ตรวจสอบว่าสุนัขตัวที่กัดเรา ว่าได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่

คุณสามารถติดเชื้อพิษสุนัขบ้าได้ แม้จะถูกกัดไม่รุนแรงมาก หากทราบได้ว่าสุนัขได้รับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้ามาแล้ว ก็ไม่น่ากังวลมากนักค่ะ แต่ถ้าไม่มั่นใจให้คุณรีบไปพบแพทย์ และสังเกตอาการของสุนัขประมาณ 15 วัน เพื่อตรวจดูว่ามันมีสัญญาณของโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ ถ้าสุนัขจรจัดกัด คุณควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อโดยด่วนค่ะ

 

วิธีดูแลรักษาแผลสุนัขกัดรุนแรง

1.ตรวจสอบแผล

แผลที่ถูกกัดอย่างรุนแรงจะมีรอยฝังลึกจากเขี้ยวของสุนัข ซึ่งอาจทำให้เนื้อบริเวณแผลเกิดการฉีกขาด อีกทั้งขากรรไกรของเจ้าตูบบางสายพันธุ์สามารถสร้างความเสียหายให้กับกระดูก เส้นเอ็น หรือข้อต่อได้ หากคุณขยับตัวและเกิดอาการเจ็บปวด หรือไม่สามารถขยับบริเวณที่โดนกัดได้ คุณควรไปพบแพทย์

บาดแผลที่มีความรุนแรง

  • แผลฉีกขาดออกจากกันเป็นวงกว้าง
  • ถูกกัดบริเวณลำคอ หรือศีรษะ
  • แผลฉีกลึกพอที่จะเห็นไขมันกล้ามเนื้อ หรือกระดูก
  • มีเลือดไหลออกมาจากแผลมาก หรือเมื่อกดแผลเป็นเวลา 15 นาที ไม่สามารถหยุดเลือดที่ไหลได้

 

2.กดแผลให้เลือดไหลช้าลง

ให้ใช้ผ้าขนหนูกดไปยังบริเวณแผล เพื่อให้เลือดไหลช้าลงมากที่สุด และกดไว้จนกว่าคุณจะได้พบแพทย์ค่ะ

สุนัข กัด ปฐมพยาบาล

3.รีบพบแพทย์ทันที

คุณหมอจะวิเคราะห์โดยเลือกใช้วิธีที่ดีที่สุดในการรักษา รวมถึงการห้ามเลือดให้หยุดไหล และตรวจสอบดูว่าแผลนั้นเย็บหรือไม่ ถ้าต้องเย็บ ควรกำจัดเนื้อเยื่อที่ไม่จำเป็นออกไปหรือไม่ เช่น เนื้อเยื่อที่ติดเชื้อ หรือ ผิวหนังที่ตายแล้ว โดยสิ่งเหล่านี้จะขัดขวางการรักษาเนื้อเยื่อที่ยังดีอยู่

  • แพทย์จะเช็กประวัติของคุณเพื่อดูว่าจำเป็นต้องรับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักอีกครั้งหรือไม่
  • หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าคุณมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อพิษสุนัขบ้า คุณจะได้รับการฉีดวัคซีนต้านเชื้อพิษสุนัขบ้าหลายเข็มเลยละค่ะ

สุนัข กัด ปฐมพยาบาล

4.กินยาให้ครบตามแพทย์สั่ง

การกินยาให้ครบตามแพทย์สั่งก็จะช่วยให้แผล และร่างกายของคุณฟื้นฟูได้รวดเร็วขึ้น ทั้งยังช่วยลดอาการติดเชื้อได้อีกด้วยค่ะ โดยส่วนมากแล้วแพทย์จะสั่งยาให้กินเป็นเวลา 3-5 วันค่ะ

 

5.เปลี่ยนผ้าพันแผลตามที่แพทย์แนะนำ

แพทย์จะเป็นคนบอกว่า เราควรเปลี่ยนผ้าพันแผลบ่อยแค่ไหน หรืออาจจะแนะนำให้เปลี่ยน 1-2 ครั้งต่อวันก็ได้ค่ะ

 

ถือว่าเป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ทุกคนควรศึกษาไว้นะคะ เพราะหากถูกกัดในพื้นที่ที่ห่างไกลแพทย์จะได้ทำการปฐมพยาบาลด้วยตัวเอง นอกจากนี้ หากใครไม่แน่ใจเกี่ยวกับความรุนแรงของแผลที่ถูก สุนัข กัด และผลที่อาจตามมาในภายหลัง ก็ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที ถ้าชอบบทความดีๆ แบบนี้อย่าลืมติดตามเว็บไซต์ของเราด้วยนะคะ

 

นามปากกา น้องแมวสีเทา

น้องแมวสีเทาชื่นชอบในการเลี้ยงดูแลแมวและรักความเป็นแมวอย่างสุดหัวใจ มีประสบการณ์ในการเลี้ยงสัตว์มามากกว่า 10 ปี ชอบค้นหาข้อมูลและเทคนิคการเลี้ยงสัตว์ เพื่อนำความรู้ที่ได้มาแบ่งปันกับเพื่อนๆต่อไป